มือใหม่อยากมีเว็บขายของ Platform ไหนดี Leave a comment

ก่อนจะมาคุยกันว่ามือใหม่ที่อยากจะมีเว็บขายของเป็นของตัวเองนั้น Platform E-Commerce แบบไหนถึงจะเหมาะสมและดี นั้นเรามาทำความรู้จักกับ E-Commerce กันคร่าวๆ ก่อนนะคะ

เว็บขายของออนไลน์ หรือ ที่ใครๆมักเรียกกันว่า Web E-Commerce ชื่อเต็มๆ ก็คือ “Electronic Commerce” หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง  ซึ่งหมายถึงการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า และ บริการ

จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า  คลังสินค้า พนักงานขาย และ พนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ คือ ระยะทาง และ เวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

ข้อดี

  1. เปิดดำเนินการค้า  24 ชั่วโมงได้
  2. ดำเนินการค้าได้ทั่วโลก
  3. ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
  4. ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
  5. ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ โดยสามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก

ข้อเสีย

  1. ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
  2. จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
  4. ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

 

ถึงตอนนี้เราคงพอรู้จัก E-Commerce กันมาพอสังเขปแล้วนะคะ ต่อไปเราไปดูกันดีกว่าว่าเมื่อคุณตัดสินใจว่าอยากจะมีเว็บไซต์ E-Commerce แล้ว สิ่งที่คุณต้องพิจารณาต่อไปก็คือ คุณจะใช้ระบบ CMS (Content Management System) ไหนดีล่ะ ดังนั้นการเลือกระบบ CMS โดยบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากมายย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

 

1. Shopify

เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ E-Commerce อันดับต้นๆ ของโลก ในปัจจุบันมีเว็บไซต์จำนวนมหาศาลที่ใช้ระบบ (CMS) ของ Shopify ในการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาขายของ และรับออเดอร์จากลูกค้าออนไลน์

ถ้าคุณใช้ Shopify ในการเปิดร้านค้าออนไลน์ คุณจะไม่ต้องสนใจเรื่อง Hosting ก็เพราะ Shopify เป็น Hosting ของคุณแล้ว

สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการใช้งาน Shopify นั้นจะมีสองส่วน (ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่) โดยส่วนแรก คือ

ค่าสมาชิก

  • ฺBasic Shopify ($29 ต่อเดือน)
  • Shopify ($79 ต่อเดือน)
  • Advance Shopify ($299 ต่อเดือน)

นอกจากนั้นคุณจะต้องจ่ายค่า Transaction Fee หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เนื่องกับระบบการจ่ายเงิน ค่าใช้จ่ายนี้จะถูกเก็บจากออเดอร์ แต่ละออเดอร์ที่คุณขายได้ อัตราค่าใช้จ่ายนี้จะอยู่ที่

  • ฺBasic Shopify (2.9% + $0.30 ต่อครั้ง)
  • Shopify (2.6% + $0.30 ต่อครั้ง)
  • Advance Shopify (2.4% + $0.30 ต่อครั้ง)

ทั้งนี้ถ้าลูกค้าของคุณใช้ Payment อื่นๆ นอกจาก Shopify payments คุณจะโดนเก็บอีก 2% จากแต่ละออเดอร์ ทำไปทำมาก็รวมๆเป็น 5% นั่นแหละค่ะ

ถัดไปเรามาพูดถึงข้อดีข้อเสียกันนะคะ เราจะได้เปรียบเทียบกันได้ชัดๆว่า Shopify นั้นดีไหม

ข้อดีของ Shopify

  1. ไม่ต้องกังวลเรื่อง hosting และปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ เพราะ Shopify จัดการให้คุณหทดทุกอย่างแล้ว
  2. ใช้งานง่ายมาก ไม่ต้องเรียนรู้ เรื่องการเขียน Code ใดๆ ใช้เวลาไม่นานก็พร้อมขายของแล้ว
  3. เว็บไซต์โหลดอย่างรวดเร็ว เหมาะต่อความต้องการของลูกค้า เพราะเป็นแบบ Cloud-hosting
  4. เนื่องจากคนใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้มีสังคมที่คอยช่วยเหลือคุณตลอดเวลา
  5. มีเครื่องมือมหาศาลในการทำเว็บไซต์ให้สวยงาม การปรับแต่งทำได้หลากหลาย
  6. เชื่อมต่อกับ Social network และระบบร้านค้าต่างๆได้ง่าย
  7. มีส่วนลดค่า Shipping 64%  – 74% ถ้าคุณส่งผ่าน DHL Express, UPS, USPS (ทำให้เหมาะสำหรับคนที่ขายของให้กับลูกค้าต่างชาติ อย่างเช่นมีร้านบน Amazon เป็นต้น)

ข้อเสียของ Shopify

  1. ราคาของ Shopify สูงมากเมื่อเทียบกับ CMS ที่ใช้สร้างเว็บไซต์ e-commerce อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรายเดือน และ transaction fee ที่จะต้องโดนเก็บเกือบ 5% ถ้าไม่ใช้ Shopify payments
  2. ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์ ที่มีฟังก์ชั่นแปลกๆ นอกเหนือจาก e-commerce คุณแทบจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย
  3. ไม่มีแบบให้ใช้ฟรี ต้องจ่ายเงินก่อนเท่านั้น

 

2. LnwShop

LnwShop หรือ เทพช็อป เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ e-commerce ชั้นนำของไทย ในปัจจุบันเทพช็อปให้บริการเว็บไซต์มากกว่า 700,000 แห่งทั่วไทย ลักษณะของเทพช็อปคล้ายกับ Shopify ค่ะ แต่เป็นของคนไทย ให้บริการลูกค้าไทยนั่นเอง

เทพช็อปให้คุณเปิดร้านค้าออนไลน์ฟรีทุกอย่างแบบไม่มีกั๊ก แต่ถ้าคุณต้องการ feature ที่จำเป็นอย่างเช่นได้ โดเมนดีๆ เชื่อมต่อกับ Shopee หรือ Lazada คุณจะต้องอัพเกรดตาม plan ต่างๆ ของเทพช็อป โดยมีรายละเอียดดังนี้

Combo 1 : 150 บาทต่อเดือน

Combo 2 : 350 บาทต่อเดือน

Combo 3 : 734 บาทต่อเดือน

Combo 4 : 1,459 บาทต่อเดือน

Combo Max : 1,950 บาทต่อเดือน

แต่ละแพลนจะแตกต่างกันไปตาม feature ที่ให้ สามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ ที่นี่

จากที่ผมดูแพลนของเทพช็อปแล้ว ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์ e-commerce ที่ได้มาตรฐานจริงๆ คุณควรจะต้องสมัคร Combo 3 ขึ้นไป เพราะคุณจะสามารถเชื่อมต่อ (sync) ร้านของคุณบนเทพช็อปกับแพลตฟอร์ม e-commerce หลักอย่าง Shopee, Lazada ได้ จัดโปรส่วนลดได้ และยังมี SSL เพื่อความปลอดภัยด้วย ซึ่ง SSL จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการค้าขายออนไลน์ค่ะ

 

ถัดไปเราไปดูข้อดีข้อเสียของ LnwShop กันว่าดีไหม

ข้อดีของ LnwShop

  1. เปิดร้านค้าออนไลน์ได้ฟรี  โดยไม่จำกัดจำนวนสินค้า และขนาดเว็บไซต์ เหมาะสำหรับพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ที่ยังไม่มีลูกค้าประจำ และเพิ่มมาเริ่มขายของออนไลน์
  2. แก้ไขหน้าเว็บไซต์ได้ด้วยเครื่องมือหลายชนิด
  3. ไม่ต้องกังวลเรื่อง hosting และปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ เพราะเทพช็อปทำหน้าที่จัดการให้เป็นคุณ
  4. มีรีวิว และระบบยืนยันตัวตนให้ลูกค้าพิจารณา ซึ่งจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณ
  5. Customer Support เป็นคนไทย
  6. เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม e-commerce และ Social network ได้ง่ายและสะดวกสบาย
  7. สามารถจัดการเรื่องภาษี และงานเอกสารอื่นๆ ได้
  8. จัดการเรื่องการจัดเก็บสินค้า และการจัดส่งให้คุณ
  9. มี LnwMall เพื่อช่วยขายสินค้าให้คุณอีกทางหนึ่ง
  10. โดยรวมแล้วถือว่าครบถ้วนสมบูรณ์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่ต้องการขายสินค้าในประเทศไทย

ข้อเสียของ LnwShop

  1. แม้ว่าเทพช็อปจะให้บริการฟรี แต่ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์ e-commerce ที่ได้มาตรฐานจริงๆ คุณจะต้อง upgrade อย่างแน่นอน ค่ารายเดือนจัดว่าสูงกว่าค่า Hosting เว็บไซต์ทั่วไปมาก
  2. การปรับแต่งเว็บไซต์ทำได้จำกัดถ้าเทียบกับ CMS อย่าง WordPress และถ้าต้องการ feature ดีๆยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มด้วย ซึ่งในส่วนนี้จัดว่ามีราคาแพง
  3. แม้ว่าเทพช็อปจะไม่เก็บ Transaction fee แต่ถ้าคุณสนใจเพิ่มช่องทางการชำระเงิน (LnwPay) คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมมากถึง 3.4% – 5%  ต่อออเดอร์

 

3. WordPress + Woocommerce

WordPress เป็นหนึ่งใน CMS หรือระบบที่ใช้สร้างเว็บไซต์ทั่วโลก ซึ่งจะต่างจาก Shopify และ LnwShop ที่ให้บริการลูกค้า e-commerce โดยตรงค่ะ

คุณสามารถใช้ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์ e-commerce ได้ไม่ยากเลย คุณแค่ดาวน์โหลดส่วนเสริม (Plugin) ที่เรียกว่า Woocommerce เข้ามาเท่านั้น และปรับแต่งอีกเล็กน้อย เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของคุณก็พร้อมทุกด้านที่จะขายสินค้าแล้ว ในปัจจุบันมีคนสร้างเว็บไซต์ e-commerce ด้วยวิธีนี้มากกว่า 20% ของทั้งหมด

สิ่งที่คุณทราบอย่างหนึ่ง คือ ถ้าคุณจะสร้างเว็บไซต์ด้วยวิธีนี้ คุณจะต้องหา Hosting ด้วยตนเอง ซึ่งต่างจาก Shopify และ เทพช็อป

และก็มาดูข้อดีข้อเสียกันต่อเลยดีกว่านะคะ

 

ข้อดีของ WordPress + Woocommerce

  1. สามารถสร้างเว็บไซต์ e-commerce ที่มีฟังก์ชั่นหลากหลาย สำหรับมือใหม่ ถ้าคุณต้องการอะไรเพิ่มก็เพียงแค่ดาวน์โหลด Plugin เท่านั้น (แต่อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม) ความยืดหยุ่นของ WordPress + Woocommerce เป็นจุดเด่นหลักที่ทำให้คนจำนวนมากเลือกใช้วิธีนี้
  2. แม้ว่าจะต้องหา Hosting และซื้อ Domain เองแต่ถ้าเทียบกันแล้วค่าใช้จ่ายรายเดือนจะถูกกว่า Shopify
  3. มีผู้ใช้งานมหาศาล ทำให้ขอความช่วยเหลือได้ไม่ยาก
  4. มีวิธีมากมายที่ไม่แพงที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณออกมาดูดี สวยงาม และเป็นมืออาชีพ
  5. ฟังก์ชั่นการซื้อขายออนไลน์เหมือนกับ Shopify มีอย่างครบถ้วนใน Woocommerce และ plugin อื่นๆ
  6. ไม่ต้องเสียค่า Transaction fee

ข้อเสียของ WordPress + Woocommerce

  1. การใช้งานจัดว่าไม่ได้ง่ายมากสำหรับมือใหม่ แต่คุณสามารถหาคอร์สเรียนได้ง่ายๆ หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะง่ายดายมากสำหรับคุณ
  2. โดยส่วนใหญ่แล้ว คุณจะต้องจัดการเรื่องปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับเว็บไซต์ด้วยตนเอง แม้กระทั่งเรื่อง Malware ต่างๆที่จะคุกคามเว็บไซต์ e-commerce ของคุณ รวมไปถึง backup ด้วย อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่ของ host จะช่วยเหลือคุณได้ด้วยเช่นกัน
  3. คุณภาพของ host จะมีผลมากต่อคุณภาพของเว็บไซต์ ตั้งแต่ล่มบ่อยหรือไม่ ไปจนถึงเว็บเร็วหรือช้า
  4. ตัว Woocommerce ฟรีก็จริง แต่ plugin ที่จำเป็นอื่นๆ อาจจะไม่ฟรี

 

สรุป ถึงตอนนี้ไม่แน่ใจว่าคุณตัดสินใจ หรือชอบ Platform ไหนกันได้ใช่ไหมค่ะ ยังไงแอดมินก็ขอขอบคุณทุกท่านนะคะ ที่อ่านกันมาจนจบ แล้วมา Update ข้อมูลดีกับเรากันได้ที่ เว็บไซต์ : https://www.savemak.com/blog-post/  นะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *