ก่อนจะมาคุยกันว่ามือใหม่ที่อยากจะมีเว็บขายของเป็นของตัวเองนั้น Platform E-Commerce แบบไหนถึงจะเหมาะสมและดี นั้นเรามาทำความรู้จักกับ E-Commerce กันคร่าวๆ ก่อนนะคะ
เว็บขายของออนไลน์ หรือ ที่ใครๆมักเรียกกันว่า Web E-Commerce ชื่อเต็มๆ ก็คือ “Electronic Commerce” หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง ซึ่งหมายถึงการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า และ บริการ
จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า คลังสินค้า พนักงานขาย และ พนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ คือ ระยะทาง และ เวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป
ข้อดี
- เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมงได้
- ดำเนินการค้าได้ทั่วโลก
- ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
- ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
- ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ โดยสามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
ข้อเสีย
- ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
- จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
- การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
- ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
ถึงตอนนี้เราคงพอรู้จัก E-Commerce กันมาพอสังเขปแล้วนะคะ ต่อไปเราไปดูกันดีกว่าว่าเมื่อคุณตัดสินใจว่าอยากจะมีเว็บไซต์ E-Commerce แล้ว สิ่งที่คุณต้องพิจารณาต่อไปก็คือ คุณจะใช้ระบบ CMS (Content Management System) ไหนดีล่ะ ดังนั้นการเลือกระบบ CMS โดยบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากมายย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
1. Shopify
เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ E-Commerce อันดับต้นๆ ของโลก ในปัจจุบันมีเว็บไซต์จำนวนมหาศาลที่ใช้ระบบ (CMS) ของ Shopify ในการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาขายของ และรับออเดอร์จากลูกค้าออนไลน์
ถ้าคุณใช้ Shopify ในการเปิดร้านค้าออนไลน์ คุณจะไม่ต้องสนใจเรื่อง Hosting ก็เพราะ Shopify เป็น Hosting ของคุณแล้ว
สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการใช้งาน Shopify นั้นจะมีสองส่วน (ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่) โดยส่วนแรก คือ
ค่าสมาชิก
- ฺBasic Shopify ($29 ต่อเดือน)
- Shopify ($79 ต่อเดือน)
- Advance Shopify ($299 ต่อเดือน)
นอกจากนั้นคุณจะต้องจ่ายค่า Transaction Fee หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เนื่องกับระบบการจ่ายเงิน ค่าใช้จ่ายนี้จะถูกเก็บจากออเดอร์ แต่ละออเดอร์ที่คุณขายได้ อัตราค่าใช้จ่ายนี้จะอยู่ที่
- ฺBasic Shopify (2.9% + $0.30 ต่อครั้ง)
- Shopify (2.6% + $0.30 ต่อครั้ง)
- Advance Shopify (2.4% + $0.30 ต่อครั้ง)
ทั้งนี้ถ้าลูกค้าของคุณใช้ Payment อื่นๆ นอกจาก Shopify payments คุณจะโดนเก็บอีก 2% จากแต่ละออเดอร์ ทำไปทำมาก็รวมๆเป็น 5% นั่นแหละค่ะ
ถัดไปเรามาพูดถึงข้อดีข้อเสียกันนะคะ เราจะได้เปรียบเทียบกันได้ชัดๆว่า Shopify นั้นดีไหม
ข้อดีของ Shopify
- ไม่ต้องกังวลเรื่อง hosting และปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ เพราะ Shopify จัดการให้คุณหทดทุกอย่างแล้ว
- ใช้งานง่ายมาก ไม่ต้องเรียนรู้ เรื่องการเขียน Code ใดๆ ใช้เวลาไม่นานก็พร้อมขายของแล้ว
- เว็บไซต์โหลดอย่างรวดเร็ว เหมาะต่อความต้องการของลูกค้า เพราะเป็นแบบ Cloud-hosting
- เนื่องจากคนใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้มีสังคมที่คอยช่วยเหลือคุณตลอดเวลา
- มีเครื่องมือมหาศาลในการทำเว็บไซต์ให้สวยงาม การปรับแต่งทำได้หลากหลาย
- เชื่อมต่อกับ Social network และระบบร้านค้าต่างๆได้ง่าย
- มีส่วนลดค่า Shipping 64% – 74% ถ้าคุณส่งผ่าน DHL Express, UPS, USPS (ทำให้เหมาะสำหรับคนที่ขายของให้กับลูกค้าต่างชาติ อย่างเช่นมีร้านบน Amazon เป็นต้น)
ข้อเสียของ Shopify
- ราคาของ Shopify สูงมากเมื่อเทียบกับ CMS ที่ใช้สร้างเว็บไซต์ e-commerce อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรายเดือน และ transaction fee ที่จะต้องโดนเก็บเกือบ 5% ถ้าไม่ใช้ Shopify payments
- ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์ ที่มีฟังก์ชั่นแปลกๆ นอกเหนือจาก e-commerce คุณแทบจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย
- ไม่มีแบบให้ใช้ฟรี ต้องจ่ายเงินก่อนเท่านั้น
2. LnwShop
LnwShop หรือ เทพช็อป เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ e-commerce ชั้นนำของไทย ในปัจจุบันเทพช็อปให้บริการเว็บไซต์มากกว่า 700,000 แห่งทั่วไทย ลักษณะของเทพช็อปคล้ายกับ Shopify ค่ะ แต่เป็นของคนไทย ให้บริการลูกค้าไทยนั่นเอง
เทพช็อปให้คุณเปิดร้านค้าออนไลน์ฟรีทุกอย่างแบบไม่มีกั๊ก แต่ถ้าคุณต้องการ feature ที่จำเป็นอย่างเช่นได้ โดเมนดีๆ เชื่อมต่อกับ Shopee หรือ Lazada คุณจะต้องอัพเกรดตาม plan ต่างๆ ของเทพช็อป โดยมีรายละเอียดดังนี้
Combo 1 : 150 บาทต่อเดือน
Combo 2 : 350 บาทต่อเดือน
Combo 3 : 734 บาทต่อเดือน
Combo 4 : 1,459 บาทต่อเดือน
Combo Max : 1,950 บาทต่อเดือน
แต่ละแพลนจะแตกต่างกันไปตาม feature ที่ให้ สามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ ที่นี่
จากที่ผมดูแพลนของเทพช็อปแล้ว ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์ e-commerce ที่ได้มาตรฐานจริงๆ คุณควรจะต้องสมัคร Combo 3 ขึ้นไป เพราะคุณจะสามารถเชื่อมต่อ (sync) ร้านของคุณบนเทพช็อปกับแพลตฟอร์ม e-commerce หลักอย่าง Shopee, Lazada ได้ จัดโปรส่วนลดได้ และยังมี SSL เพื่อความปลอดภัยด้วย ซึ่ง SSL จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการค้าขายออนไลน์ค่ะ
ถัดไปเราไปดูข้อดีข้อเสียของ LnwShop กันว่าดีไหม
ข้อดีของ LnwShop
- เปิดร้านค้าออนไลน์ได้ฟรี โดยไม่จำกัดจำนวนสินค้า และขนาดเว็บไซต์ เหมาะสำหรับพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ที่ยังไม่มีลูกค้าประจำ และเพิ่มมาเริ่มขายของออนไลน์
- แก้ไขหน้าเว็บไซต์ได้ด้วยเครื่องมือหลายชนิด
- ไม่ต้องกังวลเรื่อง hosting และปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ เพราะเทพช็อปทำหน้าที่จัดการให้เป็นคุณ
- มีรีวิว และระบบยืนยันตัวตนให้ลูกค้าพิจารณา ซึ่งจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณ
- Customer Support เป็นคนไทย
- เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม e-commerce และ Social network ได้ง่ายและสะดวกสบาย
- สามารถจัดการเรื่องภาษี และงานเอกสารอื่นๆ ได้
- จัดการเรื่องการจัดเก็บสินค้า และการจัดส่งให้คุณ
- มี LnwMall เพื่อช่วยขายสินค้าให้คุณอีกทางหนึ่ง
- โดยรวมแล้วถือว่าครบถ้วนสมบูรณ์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่ต้องการขายสินค้าในประเทศไทย
ข้อเสียของ LnwShop
- แม้ว่าเทพช็อปจะให้บริการฟรี แต่ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์ e-commerce ที่ได้มาตรฐานจริงๆ คุณจะต้อง upgrade อย่างแน่นอน ค่ารายเดือนจัดว่าสูงกว่าค่า Hosting เว็บไซต์ทั่วไปมาก
- การปรับแต่งเว็บไซต์ทำได้จำกัดถ้าเทียบกับ CMS อย่าง WordPress และถ้าต้องการ feature ดีๆยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มด้วย ซึ่งในส่วนนี้จัดว่ามีราคาแพง
- แม้ว่าเทพช็อปจะไม่เก็บ Transaction fee แต่ถ้าคุณสนใจเพิ่มช่องทางการชำระเงิน (LnwPay) คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมมากถึง 3.4% – 5% ต่อออเดอร์
3. WordPress + Woocommerce
WordPress เป็นหนึ่งใน CMS หรือระบบที่ใช้สร้างเว็บไซต์ทั่วโลก ซึ่งจะต่างจาก Shopify และ LnwShop ที่ให้บริการลูกค้า e-commerce โดยตรงค่ะ
คุณสามารถใช้ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์ e-commerce ได้ไม่ยากเลย คุณแค่ดาวน์โหลดส่วนเสริม (Plugin) ที่เรียกว่า Woocommerce เข้ามาเท่านั้น และปรับแต่งอีกเล็กน้อย เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของคุณก็พร้อมทุกด้านที่จะขายสินค้าแล้ว ในปัจจุบันมีคนสร้างเว็บไซต์ e-commerce ด้วยวิธีนี้มากกว่า 20% ของทั้งหมด
สิ่งที่คุณทราบอย่างหนึ่ง คือ ถ้าคุณจะสร้างเว็บไซต์ด้วยวิธีนี้ คุณจะต้องหา Hosting ด้วยตนเอง ซึ่งต่างจาก Shopify และ เทพช็อป
และก็มาดูข้อดีข้อเสียกันต่อเลยดีกว่านะคะ
ข้อดีของ WordPress + Woocommerce
- สามารถสร้างเว็บไซต์ e-commerce ที่มีฟังก์ชั่นหลากหลาย สำหรับมือใหม่ ถ้าคุณต้องการอะไรเพิ่มก็เพียงแค่ดาวน์โหลด Plugin เท่านั้น (แต่อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม) ความยืดหยุ่นของ WordPress + Woocommerce เป็นจุดเด่นหลักที่ทำให้คนจำนวนมากเลือกใช้วิธีนี้
- แม้ว่าจะต้องหา Hosting และซื้อ Domain เองแต่ถ้าเทียบกันแล้วค่าใช้จ่ายรายเดือนจะถูกกว่า Shopify
- มีผู้ใช้งานมหาศาล ทำให้ขอความช่วยเหลือได้ไม่ยาก
- มีวิธีมากมายที่ไม่แพงที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณออกมาดูดี สวยงาม และเป็นมืออาชีพ
- ฟังก์ชั่นการซื้อขายออนไลน์เหมือนกับ Shopify มีอย่างครบถ้วนใน Woocommerce และ plugin อื่นๆ
- ไม่ต้องเสียค่า Transaction fee
ข้อเสียของ WordPress + Woocommerce
- การใช้งานจัดว่าไม่ได้ง่ายมากสำหรับมือใหม่ แต่คุณสามารถหาคอร์สเรียนได้ง่ายๆ หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะง่ายดายมากสำหรับคุณ
- โดยส่วนใหญ่แล้ว คุณจะต้องจัดการเรื่องปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับเว็บไซต์ด้วยตนเอง แม้กระทั่งเรื่อง Malware ต่างๆที่จะคุกคามเว็บไซต์ e-commerce ของคุณ รวมไปถึง backup ด้วย อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่ของ host จะช่วยเหลือคุณได้ด้วยเช่นกัน
- คุณภาพของ host จะมีผลมากต่อคุณภาพของเว็บไซต์ ตั้งแต่ล่มบ่อยหรือไม่ ไปจนถึงเว็บเร็วหรือช้า
- ตัว Woocommerce ฟรีก็จริง แต่ plugin ที่จำเป็นอื่นๆ อาจจะไม่ฟรี
สรุป ถึงตอนนี้ไม่แน่ใจว่าคุณตัดสินใจ หรือชอบ Platform ไหนกันได้ใช่ไหมค่ะ ยังไงแอดมินก็ขอขอบคุณทุกท่านนะคะ ที่อ่านกันมาจนจบ แล้วมา Update ข้อมูลดีกับเรากันได้ที่ เว็บไซต์ : https://www.savemak.com/blog-post/ นะคะ