ริ่มต้นจากคำว่า MIMO
ในวงการ Wifi เราเริ่มต้นใช้เทคโนโลยี MIMO หรือ multiple-input and multiple-output กันมาตั้งแต่ปี 2007 แล้วนะครับ ก็ตั้งแต่มาตรฐาน 802.11n ที่เริ่มใช้เทคนิคใหม่นี้ ทำให้เราเตอร์มีเสาอากาศหลายต้นเพื่อส่งสัญญาณพร้อมกันหลายคลื่น และเครื่องรับก็รับพร้อมกันหลายคลื่น ให้ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งเราก็จะเห็นเลขอย่าง 1×1, 2×2 หรือ 3×3 อยู่ในสเปกของอุปกรณ์ที่รับคลื่น เช่นเราใช้เราเตอร์ที่รองรับการส่งสัญญาณ 3 สตรีม และใช้อุปกรณ์ที่รองรับ 3×3 ด้วย ความเร็วที่ได้ก็จะสูงสุดตามที่เราเตอร์ทำได้ครับ (แต่ส่วนใหญ่พวกสมาร์ทโฟนก็จะเป็นแบบ 1×1 ทั้งนั้นเพราะมีพื้นที่ในเครื่องน้อย)
แต่เทคโนโลยีที่เราใช้มาตลอดเรียกว่า SU-MIMO หรือ single-user multiple-input and multiple-output คือในช่วงเวลาหนึ่งตัวเราเตอร์จะสามารถรับ-ส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ได้แค่ 1 ตัวเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัว เราเตอร์ก็จะส่งสัญญาณสลับไปสลับมาอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ใช่ส่งพร้อมกันทุกๆ อุปกรณ์ ทำให้เมื่อมีอุปกรณ์มาก เราเตอร์หมุนไปคุยกับทุกคนไม่ทัน ก็ทำให้เกิดอาการเน็ตสะดุดขึ้น
MU-MIMO มีข้อดี/ข้อด้อยอย่างไร
MU-MIMO หรือ multi-user multiple-input and multiple-output นั้นแก้ไขข้อจำกัดของเทคโนโลยีเดิมคือเราเตอร์ 1 ตัวสามารถรับส่งข้อมูลกับหลายๆ อุปกรณ์พร้อมกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้เราเตอร์สามารถรองรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้มากกว่าเดิมด้วย เหมือนมีเราเตอร์หลายตัวในเครื่องเดียว
แต่ข้อจำกัดของ MU-MIMO ก็อยู่ที่นอกจากตัว Access Pointจะต้องรองรับมาตรฐานนี้แล้ว อุปกรณ์ที่ใช้งานก็ต้องรองรับมาตรฐานนี้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนในตอนนี้ที่ยังไม่มีตัวไหนรองรับ MU-MIMO การทำงานก็จะเป็น SU-MIMO ตามปกติ
สนใจ Access Point Click